ประเพณีถวายผ้ากฐิน (ความหมายที่มาและอานิสงส์ )

[คัดลอกลิงก์]
ดู: 2814|ตอบกลับ: 1

798

กระทู้

19

ตอบกลับ

8185

เครดิต

ผู้ดูแลระบบ

UID
1
เครดิต
8185
พลังน้ำใจ
-9
จิตเอื้ออาทร
7395
ความดี
-9
เพศ
ชาย
ตอบกลับ
19
ลงทะเบียน
2017-7-2
ล่าสุด
2025-1-2
ออนไลน์
2427 ชั่วโมง
จำนวนผู้ติดตาม
1
ทักทาย
0
บล็อก
0
เพื่อน
23
สำคัญ
0
ผู้ขายเครดิต
ผู้ซื้อเครดิต
หมู่ดาว
ธนู

 Bangkok, Thailand

ธรรมสวัสดี
ประเพณีถวายผ้ากฐิน (ความหมายที่มาและอานิสงส์ )
สาระธรรมนำชีวิต
เรื่อง ประเพณีถวายผ้ากฐิน ( ความหมายที่มา และอานิสงส์ )  
รวบรวมโดย  พระมหาสุนทร มนาปภาณี
กฐินแท้ของชาวพุทธ
โดย..นิราลัย

ประเพณีถวายผ้ากฐิน
๑.ข้อความเบื้องต้น
กฐินนี้เป็นกาลทานพิเศษ เป็นที่นิยมของพุทธศาสนิกชนทุกชั้น ผู้ใคร่ในบุญกุศล ย่อมยกย่อง การทอดกฐินว่า เป็นมหาทานอย่างสูง แม้พระมหากษัตริย์เจ้า ก็ทรงถือเป็นพระราชจริยาวัตรประการ หนึ่ง เมื่อเทศกาลก็เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้าพระกฐินตามพระอารามต่าง ๆ ด้วยขบวน พยุหยาตราบ้าง ด้วยขบวนอื่นบ้าน ตามฐานะของพระอารามและเทศกลเทศะ ทั้งทางน้ำทั้งทางบก ใน บัดนี้รัฐบาลก็ยกขึ้นเป็นรัฐการอย่างหนึ่ง มอบให้กระทรวงทบวงกรมเป็นต้น เป็นเจ้าภาพทอดผ้ากฐิน และประชาชนก็ถือเป็นกรณียะ ผู้มีกำลังมีศรัทธาก็เป็นเจ้าภาพจัดการทอดถวายตามความสามารถของ ตน ในฝ่ายบรรพชิตพระเถระในต่างอาวาสเมื่อวัดที่ได้รับพระราชทานผ้าพระกฐิน ก็ไปประชุมกัน แสดงมุทิตาจิตเป็นเมตตา กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เป็นกายสามัคคี จิตสามัคคีต่อวัดนั้น
๒.ความหมายของกฐิน
กฐินนี้ ความเดิมโดยตรงเป็นชื่อของไม้สะดึง สำหรับการขึงผ้าเพื่อ กะ ตัด เย็บ คือเมื่อเวลา ต้องการตัดเย็บ ก็เอาไม้สะดึงซึ่งเป็นแบบวางลงแล้วจึงลาดผ้าทำไปตามแบ วิธีสะดวกแก่ผู้ที่ยังไม่ ชำนาญในการกะตัดเย็บจีวร ในบัดนี้มีผู้ชำนาญในการกะตัดเย็บจีวรมากขึ้นแล้ว จึงไม่ได้ใช้ไม้สะดึง อย่างครั้งก่อน แต่ชื่อกฐินก็ยังคงอยู่ตามเดิม เพราะเป็นชื่อของวินัยกรรมวิเศษแผนกหนึ่ง แต่ภายหลังมา ใช้เรียกเป็นชื่อของผ้าบ้าง ของสถานที่บ้าง เป็นต้น ดั่งมีเรื่องที่ปรากฏข้างหน้า
๓. มูลเหตุทรงอนุญาตกฐิน
มูลเหตุที่มีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุรับกฐินนั้น มีเรื่องเล่าไว้ในวินัยปิฏกมหาวรรคเล่ม ๕ โดยย่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระปรารภพระภิกษุ ชาวเมืองปาเถยยะ ๓๐ รูป ล้วนเป็นผู้ทรงธุดงค์ คุณคือ การถือป่า บิณฑบาต บังสุกุล ผ้า ๓ ผืนเป็นวัตร พระภิกษุเหล่านั้นเดินทางมาเฝ้าพระองค์ผู้ ประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี แต่เดินทางมาไม่ทัน ต้องหยุดจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกต ในระหว่างทางห่าง จากเมืองสาวัตถีเพียง ๖ โยชน์ ท่านเหล่านั้นหยุดจำพรรษาด้วยใจรัญจวน เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว ฝนกำลังตกชุก พื้นแผ่นดินยังเปียกอากูลไปด้วยด้วยโคลนตมและน้ำ ก็ไม่ได้รอรั้ง พากันออกเดินทาง ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้รับความลำบากในการเดินทาง มีจีวรอันชุ่มด้วยน้ำ พระองค์ทรงพระ ปรารภเรื่องนี้เป็นปฐมเหตุ จึงทรงประทานพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกรานกฐินในเมื่อออก พรรษาแล้ว ทรงกำหนดเวลาอันเป็นเขตของกฐินในเมื่อออกพรรษาแล้ว ทรงกำหนดเวลาอันเป็นเขต ของกฐินไว้ คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ รวมเป็นระยะเวลา ๑ เดือน


๔. กฐินเป็นพระบรมพุทธานุญาตพิเศษ
พระบรมพุทธานุญาตเรื่องกฐินวัตถุนี้ เป็นพระบรมพุทธานุญาตพิเศษ แปลกกว่าพระบรมพุทธา นุญาติอื่น ๆ เช่นพระบรมพุทธานุญาตเรื่องถวายผ้าวัสสาวาสิกและเรื่องถวายน้ำปานะ เป็นต้น เพราะ พระบรมพุทธานุญาตอื่น ๆ เมื่อมีผู้บริจาคทานแก่พระภิกษุสงฆ์ มาทูลขอพระพุทธานุญาต พระองค์ ทรงเห็นสมควรก็ทรงประทานพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุรับได้ แต่กฐินทานนี้ มีพระพุทธานุญาตเอง ไม่มีผู้ใดมาทูลขอ เพราะฉะนั้นเรื่องการทอดผ้ากฐินในพระบาลีจึงไม่ปรากฏชื่อผู้ถวายเป็น ครั้งแรก
๕. พระพุทธประสงค์เรื่องกฐิน
พระพุทธประสงค์ ที่ประทานพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์กรานกฐินนั้น ก็เพียงเพื่อจะให้ พระภิกษุได้พักผ่อน พอให้พื้นแผ่นดินแห้งสมควรแก่การเดินทางได้ และเพื่อทรงสงเคราะห์ให้ พระภิกษุสงฆ์ได้เปลี่ยนผ้าครองกันครั้งหนึ่ง หรือเพื่อให้พระภิกษุมีความชำนาญในการทำจีวรมี กะ ตัด และเย็บเป็นต้น เพราะพระพุทธประสงค์ข้อนี้ จึงทรงอนุญาตผ้าที่เกิดขึ้นในอารามนั้นให้เป็นสิทธิ์ เฉพาะพระภิกษุผู้เจ้าถิ่นไม่ต้องแจกแก่อาคันตุกะ และเพราะมีพระพุทธประสงค์โดยเจาะจงมากเช่นนี้ จึงทรงเปิดโอกาสโดยไม่จำกัดบุคคลที่จะเป็นทายกถวายผ้ากฐินว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต เมื่อมี จิตศรัทธาก็ถวายได้ทั้งนั้นทั้งยังทรงลดหย่อนสิกขาบทบางประการให้เป็นอานิสงส์การกรานกฐินของ พระภิกษุสงฆ์อีกด้วย
๖. พระพุทธานุญาตเพิ่มเติม
เนื่องด้วยเหตุนี้ ได้มีพระพุทธานุญาติเพิ่มเติมเพื่อความสะดวกแก่การกรานกฐินไว้เป็นอันมาก เช่น ครั้งหนึ่ง พระภิกษุทั้งหลายตอกหมดในที่นั้น ๆ ขึงพาดผ้าเย็บ ผ้าหลุด ทรงทราบ ก็ทรงอนุญาตไม้ สะขึงเพื่อตรึงเย็บ พระภิกษุทั้งหลายปูลาดผ้ากฐินในที่ไม่เรียบร้อย ผ้ากฐินขาด ก็ทรงห้ามว่าอย่าพึงลาด ผ้าในที่ไม่เรียบร้อยถ้าภิกษุใดทำต้องอาบัติทุกกฎ พระภิกษุทั้งหลายปูลาดผ้ากฐินไว้ที่พื้นดินผ้ากฐิน เปื้อนฝุ่น ก็ทรงอนุญาตให้ลาดหญ้ารอง ชายผ้ากฐินชำรุด ทรงทราบ ก็ทรงอนุญาตผ้าอนุวาตเมื่อผ้ากฐิน ไม่พอ(จะขึงที่ไม้สะดึงใหญ่) ก็ทรงอนุญาตไม้สะดึงที่เล็ก เชือกมัดแม่สะดึงด้ายตรึงผ้าติดกับไม้สะดึง เพื่อตรึงผ้าสำหรับเย็บจีวร เส้นด้ายไม่เสมอกัน ก็ทรงอนุญาตให้มีเครื่องวัดขนาดด้วย แนวผ้าคด ก็ทรง อนุญาตให้ทำเส้นบรรทัด (เพื่อให้แนวตรง) พระภิกษุทั้งหลายเหยียบผ้ากฐินด้วยเท้าที่ไม่ได้ล้างบ้าง ด้วยเท้าเปียกน้ำบ้าง ด้วยเท้าที่สวมรองเท้าบ้าง ผ้ากฐินเปื้อน ทรงทราบ ก็ทรงห้าม และทรงปรับอาบัติ ทุกกฏ พระภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรรับปลายเข็มด้วยนิ้วมือ ปลายนิ้วปวด ก็ทรงอนุญาตให้สวมปลอกนิ้ว มือหรือเรียกว่าสนับนิ้วมือได้ พระภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรในที่แจ้งได้รับความลำบาก เพราะหนาวบ้าง ร้อนบ้าง ก็ทรงอนุญาตศาลา หรือมณฑปกฐิน พื้นโรงกฐินต่ำ น้ำท่วมได้ ก็ทรงอนุญาตการทำพื้นให้สูง พื้นที่ก่อไว้พังลง ก็ทรงอนุญาตเครื่องก่อ คืออิฐ ศิลา ไม้ เวลาขึ้นโรงกฐินพระภิกษุทั้งหลายได้รับความลำบาก ก็ทรงอนุญาตบันใด ๓ ชนิด คือ บันใดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้ เมื่อขึ้นบันได พระภิกษุทั้งหลาย พลัดตกลงมาก็ทรงอนุญาตราวบันใดไว้ ละอองหญ้าตกลงในในโรงกฐิน ก็ทรงอนุญาตให้รื้อฉาบทา ทั้งภายในทั้งภายนอกเป็นสีขาวก็ได้ สีดำก็ได้ สีเหลืองก็ได้ สลักเป็นช่อดอกไม้ก็ได้ ทำเป็นเครือวัลย์ก็ ได้ เป็นฟันมังกรก็ได้ เป็นดอกจอก ๕ จีบก็ได้ ทำเป็นขอห้อยจีวรก็ได้ เป็นสายระเดียงก็ได้ พระภิกษุ ทั้งหลายเย็บจีวรแล้วทิ้งไม้สะดึงไว้ หลีกไปเสีย ไม้สะดึงนั้นถูกหนูบ้าง ปลวกบ้างกัด ก็ทรงอนุญาตให้ พับไม้สะดึงเมื่อไม้สะดึงหัก ก็ทรงอนุญาตให้พับไม้สะดึงกับไม้ไผ่ หรือไม้จริง เมื่อไม้สะดึงคลี่ออก ก็ ทรงอนุญาติเชือกผูก พระภิกษุทั้งหลายพิงไม้สะดึงไว้ข้างฝาบ้าง เสาบ้าง แล้วหลีกไปเสีย ไม้สะดึงนั้น หัก ก็ทรงอนุญาตให้คล้องที่สลักหรือที่ขอ
๗. มีพระพุทธานุญาตให้ตัดจีวร
จีวรนั้น ตามพระบาลี หมายเอาผ้าทุกชนิด ถ้าเป็นผ้า ๓ ผืน ก็เรียกว่าไตรจีวร แปลว่า จีวร ๓ ผืน ถ้าเป็น ๒ ผืน(สำหรับสามเณร) ก็เรียกว่าไทฺวจีวรแปลว่าจีวร ๒ ผืน เป็นผ้านุ่ง ๑ ผืน ผ้าห่ม ๑ ผืน ไม่ใช่ อย่างที่เข้าใจกันว่าจีวรเป็นผ้าห่ม สบงเป็นผ้านุ่ง สังฆาฏิเป็นผ้าพาด ในบาลี มีชื่อเรียกโดยเฉพาะถ้าเป็น ผ้านุ่งเรียกว่าอันตรวาสก ถ้าเป็นผ้าห่มเรียกว่าอุตตราสงค์ ถ้าเป็นผ้าซ้อน สำหรับห่มกันหนาวเรียกว่า สังฆาฏิ
จีวรนั้นมีพระบรมพุทธานุญาต ให้ตัดอันเดียวกันแบบนาของชาวมคธ มีเรื่องเล่าไว้ในพระวินัย ปิฎกจุลวรรค จีวรขันธกะ เล่ม ๕/๒๐๒ เป็นใจความว่า ครั้งหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริก ไปทางทักษิณาคีรีบท ได้ทอดพระเนตรเห็นทุ่งนาของชาวมคธสวยงามมีจังหวะเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงตรัสถามพระอานนท์ว่า สามารถตัดจีวรของพระภิกษุให้เหมือนนาของชาวมคธได้หรือไม่ เมื่อพระ เถระทูลสนองพระพุทธพจน์ว่าสามารถกระทำได้แล้วตัดตัวอย่างไปถวาย ก็โปรดและทรงสรรเสริญ พระอานนท์ว่า เป็นผู้มีปัญญาสามารถแล้วทรงอนุญาตให้ใช้จีวรตัด และให้ใช้แบบที่พระเถระถวาย เป็นตัวอย่างเป็นต้นมา ทั้งมีพุทธาณัต ปรับอาบัติทุกกฏแก่ผู้ใช้ผ้าไม่ตัดไว้ด้วย
๘. พระพุทธเจ้าเสด็จเป็นประธานในการทำผ้า
การประชุมการทำผ้าในครั้งพุทธกาล เป็นการประชุมใหญ่ มีเรื่องเล่าไว้ในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๔ ว่าครั้งเมื่อพระอนุรุทธะได้ผ้าบังสุกุลมา จะทำจีวรเปลี่ยนผ้าครองสำรับเก่า พระสัมมาสัมพุทธ เจ้าได้ทรงผ่อนผันสิกขาบทบางประการ ให้เป็นประโยชน์พิเศษ และทรงแสดงอานิสงส์ของกฐินทั้ง ทางพระสูตรและพระวินัย ทรงยกกฐินทานขึ้นเป็นสังฆทาน ทรงสรรเสริญว่าเป็นทานมีอานิสงส์ มากกว่าทานที่ถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า น่าจะเป็นเพราะเหตุเหล่านี้ กฐินทานจึงได้เป็นที่นิยมของ พุทธศาสนิกชนมาก ผู้ได้ทอดหรือปฏิบัติในกฐินเท่ากับได้บูชาพระพุทธประสงค์ และสงเคราะห์ภิกษุ สงฆ์ด้วยปัจจัยลาภได้บุญมาก


๑๐.ผ้าสำหรับทอดกฐิน
ผ้าที่จะถวายเป็นองค์กฐินนั้น คือ ผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้ ฝ้าย ไหม ป่าน ด้ายแกมไหม ขนสัตว์ เป็นผ้าใหม่ ผ้าเทียมใหม่ ผ้าเก่า ผ้าเปื้อนฝุ่น ผ้าทิ้งตามร้านตลาด อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ใช้ได้ แต่ต้องมีผู้ ถวาย การถวายนั้น ต้องเกิดขึ้นด้วยศรัทธาของทายกเอง ไม่ใช่พระภิกษุไปพูดแย้มพรายหรือพูดเลียบ เคียงให้เขาถวาย ไม่ใช่ผ้าขอยืมเขามาทอดไม่ใช่ผ้าเป็นสันนิธิคือผ้าที่ทายกมาทอดแล้วพระภิกษุเก็บไว้ ค้างคืน และไม่ใช่ผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์ คือผ้าที่พระภิกษุเสียสละเพราะต้องโทษตามพระวินัยบัญญัติ
๑๑. พระภิกษุผู้จะรับกฐิน
ในวินัยปิฏก อรรถกถา มหาวรรคเล่ม ๗ กล่าวไว้ว่า พระภิกษุที่จะรับกฐินนั้น ต้องเป็นปกตัตตะ คือ เป็นพระภิกษุปรกติไม่ต้องโทษ และได้อยู่จำพรรษาในวัดเดียวกันกันครบ ๓ เดือนโดยพรรษา ไม่ขาด และต้องมีจำนวนครบเป็นสงฆ์คือตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป ต่ำกว่านั้นใช้ไม่ได้

๑๒. ผ้ากฐินเป็นสังฆกรรม
การให้ผ้ากฐินนั้น โปรดให้ทำเป็นสังฆกรรม คือการงานของสงฆ์ ให้ตั้งญัตติทุติยกรรม มอบ ให้พระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งเป็นผู้สมควรและสามารถในการนี้ เช่น รู้บุพกรณ์ ๗ อย่าง คือ ซักผ้า กะผ้า ตัด ผ้า เนาผ้า เย็บผ้า ย้อมผ้า ทำพินทุผ้า เป็นผู้ดำเนินการกรานกฐิน คือทำผ้าให้เสร็จในวันนั้น
๑๓. ผ้ากฐินใช้ทำอะไร
การทำผ้านั้น จะทำเป็นผ้าสังฆาฏิ คือผ้าซ้อนห่มกันหนาว อุตตราสงค์ คือผ้าห่ม หรืออันตรวา สกคือผ้านุ่ง ผื่นใดผืนหนึ่งก็ได้ แต่ถ้าจะทำเป็นอะไรก็ต้องทำให้เสร็จจริง ๆ ทำเพียงแต่สักว่าเป็นกิริยา เช่น ขีด ซัก กะ ตัด เนา ติดลูกดุม ติดรังดุม ทำอนุวาต เพิ่มผ้าด้าม ย้อมไม่ได้สี เหล่านี้เพียงอย่างใดอย่าง หนึ่งหาไม่ได้ ต้องทำให้เสร็จบริบูรณ์ถูกต้องและใช้ได้ตามพระวินัยบัญญัติ และทำพินทุกัปปะให้แล้ว ในวันนั้น
๑๔. กฐินวิบัติ
พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า กฐินไม่เป็นอันกรานเพราะเหตุเหล่านี้คือ เพียงการ ขีด ซัก กะ ตัด เนา เย็บตะเข็บ ติดลูกดุม ติดผ้ารองรังดุม ทำอนุวาตด้านยาว ทำอนุวาตด้านกว้าง เพิ่มผ้าดาม ย้อมไม่ได้สี (แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง) ผู้ที่พูดแย้มพรายได้มา ผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา ผ้าที่ขอยืม ผ้าเป็นสันนิธิ ผ้าเป็นนิสัคคีย์ เว้นจากการพินทุกัปปะ นอกจากจีวร ๓ ผืน เว้นจากการตัดเอง ให้มีมณฑล มีขัณฑ์ตั้งแต่ ๕ ขึ้น ไป เว้นจากการกรานของบุคคล ไม่กรานโดยชอบ พระภิกษุอยู่นอกสีมาอนุโมทนา

๑๕.ใช้ผ้าที่ทำเสร็จแล้วทอดกฐินได้หรือไม่
ตามพระบาลีนี้ พอเป็นแนวทางให้เห็นว่าให้เห็นว่า ผ้าที่จะกรานเป็นกฐินนั้น เป็นผ้าที่ยังไม่ได้ ตัด เย็บ ย้อม ให้เป็นสมณบริขาร แม้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งเลย จึงมีปัญหาว่าถ้าผ้านั้นทายกทำเป็นสมณบริขารเสร็จแล้ว นำมาถวาย จะได้หรือไม่ ? อรรถกถามหาวรรค หน้า ๒๑๒ ว่า เมื่อสงฆ์ให้ผ้ากฐิน อย่างนั้นแล้ว ผ้ากฐินนั้นมีบริกรรมสำเร็จแล้ว (คือทำการกะตัดเย็บย้อมเป็นต้นเสร็จแล้ว) ดีอยู่ หรือไม่ แม้พระภิกษุรูปหนึ่งจะไม่ทำ ด้วยถือว่าเป็นเถระหรือเป็นพหุสูต ก็ไม่ได้ พระภิกษุทุกรูปต้องประชุมกัน ทำการซัก การเย็บ การย้อม ให้เสร็จ คำนี้ก็ไม่ระบุ ชัดว่า ผ้านั้นทายกได้ทำเสร็จมาแล้วหรือพระภิกษุผู้ ได้รับมอบผ้านั้น ขวนขวายทำเสร็จเป็นส่วนตนความข้อนี้ยังมัวอยู่ แต่กังขาวิตรณี หน้า ๑๑๓ ว่า “สเจ กตเมว อุปปชฺชติ สุนฺทรเมว” แปลว่า “ถ้าผ้าที่ทำสำเร็จแล้วเกิดขึ้นเป็นการดีที่เดียว” คำนี้ดูเป็นรับรอง ผ้าที่ทำเสร็จมาแล้วอย่างเต็มที่ แต่ก็มีอีกคำประโยชน์หนึ่งซึ่งเป็นคำติดต่อกับประโยคที่กล่าวแล้วมาแสดง ว่า “อจฺฉินฺนาสิพฺพิตํ ปน น วฏฺฏติ”แปลว่า “แต่ผ้านั้นไม่ตัด ไม่เย็บ ย่อมไม่ควร” นี้ก็ไม่ระบุชัดว่า ใคร ตัด ใครเย็บ
ส่วนพระบาลีเรื่องกฐินนี้ ตั้งแต่ต้นจนที่สุด มีความบ่งชัดที่เดียวว่า อย่างไรควร อย่างไรไม่ควร ท่านได้ตัดตอนมาพิมพ์ไว้สำหรับใช้สวดในวันกรานกฐินแล้วขอผู้สนใจจงหาศึกษาดู ในที่นี้ขอยกมา เป็นตัวอย่างเพียงหัวขัวเดียวเช่น
“ปญฺจเกน วา อติเรกปญฺจเกน วา ตทเหว สญฺฉินฺเนน สมณฺฑลีกเตน อตฺถตฺ โหติ กฐินํ” กฐิน ย่อมเป็นอันกรานด้วยผ้าที่ภิกษุตัดเองในวันนั้นเท่านั้น ทำให้มีมณฑล มีขัณฑ์ ๕ หรือมีขัณฑ์เกินกว่า ๕
พระบาลีบทนี้มีใจความสำคัญที่เป็นหลักเฉพาะบทอยู่ ๓ ประการคือ
          ๑. ภิกษุต้องตัดเอง
          ๒. ต้องตัดในวันนั้น
          ๓. ต้องทำให้มีมณฑล มีขัณฑ์ ๕ หรือมีขัณฑ์เกินกว่า ๕
         นี้ย่อมบ่งความว่า ถ้าภิกษุไม่ทำเอง หรือไม่ทำในวันนั้น ไม่ทำให้มีมณฑล มีขัณฑ์ ๕ หรือเกิน กว่า ๕ กฐินก็ไม่เป็นอันกราน คือไม่สำเร็จตามเป็นกฐินใช้ได้ตามพระพุทธบัญญัติ.
         แม้หากจะลองย้ายสัมพันธ์ดูบ้าง คือเรียง ตทเหว ไปไว้หน้า อตฺถตํ ว่า “ปญฺจเกน วา อติเรกปญฺ จเกน วา สญฺฉินฺเนน สมณฑลีกเตน ตทเหว อตฺถตํ โหติ กฐินํ.” แปลว่า กฐินย่อมเป็นอันกรานเสร็จใน วันนั้นเท่านั้น ด้วยผ้าที่ตัดเสร็จกระทำให้มีมณฑล มีขัณฑ์ ๕ หรือมีขัณฑ์เกินกว่า ๕ ดังนี้จะได้หรือไม่?หมายความว่า ให้ตัดผ้าไว้ก่อนในวันอื่น แล้วเอามากรานในวันที่ทอดนั้น ไม่ได้หรือ ? ขอชี้แจงว่า ไม่ชอบด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น
๑. เราเรียงบาลีเอาเอง ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว เราก็อาจเรียงได้ตามความชอบใจของเรา ไม่ตรงกับ พระพุทธประสงค์เดิม ที่เรียง ตทเหว สญฺฉินฺเนน ไว้ใกล้กัน เป็นอันบ่งว่า ต้องตัดในวันนั้น ไม่ใช่ทอด และกรานวันหนึ่ง ตัดวันหนึ่ง
         ๒. ที่พระบาลีเรียง ตทเหว ไว้ในระว่างศัพท์ที่เป็นคุณทั้ง ๒ ย่อมมีความหมายถึงผ้าที่ตัดในวัน นั้น ไม่ใช่หมายถึงผ้าที่ตัดในวันอื่น
         ๓. ถ้าจะอนุญาต ให้ใช้ผ้าที่สำเร็จมาแล้วได้ พระบาลีที่แนะให้ภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากระทำตั้งแต่ ต้นจนถึงที่สุดให้เสร็จในวันนั้น ก็ไม่จำเป็นจะต้องเรียง ตทเหว ไว้ข้างหน้าของกิริยาทั้งหมดว่า “เตน กฐินตฺถารเกน ภิกขุนา ตทเหว โธวิตฺวา วิมชฺชิตฺวา วิจาเรตฺวา ฉินฺทิตฺวา สิพฺเพตฺวา รชิตฺวา กปฺปํ กตฺวา กฐินํ อตฺถริตพฺพํ แปลว่า ผ้ากฐินอันภิกษุกรานนั้น พึงซัก รีด กะ ตัด เย็บ ย้อม ทำพินทุกัปปะ แล้วกราน ในวันนั้นที่เดียว  ที่พระบาลีเรียง ตทเหว ไว้หน้ากิริยาศัพท์ทั้งหมดนี้ ก็หมายความว่าเมื่อได้รับมอบให้ทำผ้าแล้ว ต้องทำกิจทุกอย่าง ให้เสร็จในวันนั้น คือ ซักในวันนั้น รีดในวันนั้น กะในวันนั้น ตัดในวันนั้น ฯลฯ
         ๔. ในเรื่องกฐินนี้ มีอนันถตการ คืออาการทำผ้าถูก ๑๗ อย่าง แต่ละอย่าง ๆ ก็ระบุไว้เป็นข้อ ๆ เช่นไม่ให้ทำผ้าค้าง ที่เรียกว่าผ้าเป็นสันนิธิ คือทำไม่เสร็จอยู่บทหนึ่งแล้ว ถ้าจะย้าย ตทเหว ไปเช่นนั้นก็ ซ้ำกับข้อห้ามอื่น ๆ จึงไม่จำเป็น
         จริงอยู่ ศัพท์ว่า สญฺฉินฺน อาจแปลได้ ๓ อย่าง คือ แปลว่าตัดเองก็ได้ แต่ในที่นี้ความบังคับให้ แปลว่าตัดเอง เพราะมีบุพพกรณ์ที่กล่าวมาแล้ว มีซักผ้า, กะผ้า, ตัดผ้า, เป็นต้น บ่งว่าพระต้องทำกันเอง เป็นตัวอย่าง. ทั้ง “สํ” ศัพท์ เข้ากับกิริยาหรือนามก็ได้ เช่น สมฺพุชฺฌิตวา สมฺพุทฺโธ ตรัสรู้เอง สนฺทิฏฺฐิโก เห็นเอง อุทาหรณ์ เหล่านี้ สํ หรือ ส แปลว่าเองทั้งนั้น แปลอย่างอื่นไม่ได้ได้ความเลย และพระพุทธานุญาต เพิ่มเติม หรือเรื่องทั้งปวงที่เป็นบาลี ก็ล้วนแสดงว่าพระทำกันเองทั้งนั้น การที่ทำก็ว่าทอดกฐิน. คำถวายตอนท้ายว่า ปฏิคฺคเหตวา จ อิมินา ทุสเสน กฐินํ อตฺถรตุ ซึ่งแปลว่า ก็ครั้นสงฆ์รับแล้ว จงกราน กฐินด้วยผ้านี้ อันนี้ก็เป็นคำร้องขอให้พระทำผ้า พระก็รับว่าสาธุ คำสวดในกรรมวาจา ก็ระบุว่าพระต้อง ทำผ้าและการทำผ้าก็ต้องทำตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงที่สุด ถ้าผ้าทำเสร็จมาแล้วจะต้องขอให้ทำ ต้องสวด ทำไม เหตุผลเหล่านี้ เป็นหลักเครื่องยืนยัน เพราะฉะนั้น ใช้ผ้าที่ทำเสร็จมาแล้ว ถ้าถือตามมติอรรถกา นั้น ก็น่าจะใช้ได้ แต่ถ้าถือตามพระพุทธบัญญัติก็ขัดกันโดยแท้ที่เดียว. เมื่อเป็นเช่นนี้ จะถือมติอรรถกถาหรือพระพุทธบัญญัติเป็นใหญ่ ก็แล้วแต่ความสนิทใจของผู้ปฏิบัติ. อรรถกถาก็คือคำอธิบายพุทธบัญญัติ แต่นักกฎหมายย่อมถือว่า คำอธิบายกฎหมาย ไม่ลบล้างตัวบทกฎหมายได้.

๑๖.หลักฐานของอรรถกถา
         ที่อรรถกถาทั้ง ๒ คัมภีร์ แก้ร่วมกัน รับรองผ้าองค์กฐินที่ทำเสร็จมาแล้วว่าเป็นการดีนั้น ด้วย เหตุผลปละหลักฐานอย่างไร ได้พยายามสอดคล้องค้นคว้าพิจารณาแล้ว ก็ไม่พบ เมื่อท่านแก้ไว้ลอย- ๆ โดยไม่ให้เหตุผลก่อน แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่หมดพยายามที่จะค้นหาหลักฐานต่อไปอีกเพราะ ตระหนักในคำของท่านว่าควรสำเนียก ด้วยเชื่อว่าท่านเป็นผู้อยู่ใกล้ต่อแหล่งเดิม ทั้งประเทศภาษาและ กาลสมัย กว่าพวกเรามาก.
จึงพิจารณาต่อไปอีก ก็พบพระบาลีในคัมภีร์มหาวรรค และคัมภีร์ปริวาร มีความที่ควรถือได้ เป็น ๓ ตอน คือเป็นคำสั่งตอน ๑ คำแนะนำตอน ๑ คำชี่ขาดตอน ๑ จักยกมาเป็นตัวอย่างโดยย่อดังนี้:-
         ๑) คำสั่ง เช่น “ทินฺนํ อิทํ สงฺเฆน กฐินทุสฺสํ อิตฺถนฺนามสฺส ภิกฺขุโน กฐินํ อตฺถริตํ” “ผ้า-กฐินคำประกาศนี้ เป็นคำสั่งเด็ดขาดของสงฆ์ พร้อมทั้งแสดงวัตถุประสงค์ไว้ด้วยชัดเจนแล้ว ย่อมถือ เป็นหลักปฏิบัติการได้แล้ว ในความที่สำคัญในคำสั่งนั้นก็คือสงฆ์ให้เพื่อกรานกฐิน คำว่า กราน นี้ เป็นศัพท์เขมรแปลว่า “ปู” ออกจากศัพท์บาลีว่า “อตฺถร” แปลตามรูปศัพท์ว่า “ลาดผ้า” คือคลี่ผ้าออก ปูลาด. ตามรูปศัพท์ ความก็ยังมัวอยู่ ไม่ระบุว่าเมื่อปูผ้าออกแล้วให้ทำอย่างไรต่อไป จึงต้องมี คำแนะนำอีก.
         ๒) คำแนะนำเช่น “เตน กฐินตฺถารเกน ภิกฺขุนา ตทเหว โธวิตฺวา วิจาเรตฺวา ฉินฺทิตฺวา สิพฺ เพตฺวา กปฺปํ กตวา กฐินํ อตฺถริตพฺพํ” แปลตามรูปประโยคว่า “ผ้ากฐินอันภิกษุผู้กรานกฐินนั้น พึง ซัก รีด กะ ตัด เย็บ อม ทำพินทุกัปปะ แล้วกรานในวันนั้นนั่นเทียว” คำนี้สอนให้ภิกษุผู้ได้รับมอบ ผ้ากระทำตั้งแต่เบื้องต้นจึงถึงที่สุด ให้เสร็จในวันนั้น แต่ไม่ระบุชัดว่า จะเว้นการทำนี้ได้บ้างหรือไม่ ผ้าที่ทายกตัดมาแล้ว จะใช้ได้หรือไม่ อาจเป็นเหตุให้เข้าใจได้หลายทาง ทั้งเป็นแต่คำแนะนำ ไม่ใช่ คำชี้ขาดอีก.
         ๓) คำชี้ขาด ในหมวดนี้ มีทั้งอนันตการ คืออาการที่ทำผ้าผิด ๒๔ อย่าง อัตถตาการ อาการที่ ทำผ้าถูก ๑๗ อย่าง จักยกมาเป็นตัวอย่าง เพียงข้อเดียวเช่น น โธวนมตฺเตน อตฺถคํ โหติ กฐินํ กฐิน ไม่เป็นอันรกรา ด้วยอาการสักว่าซักผ้า (อย่างเดียว) คำชี้ขาดนี้กำชับให้ทำตามคำแนะนำในข้อที่ ๒ หนักแน่นทุกกิริยา จะเว้นหรือทำสักแต่ว่าไม่ได้ กฐินไม่เป็นอันกราน นี้เป็นอาการที่ทำผิด ส่วน อาการที่ทำถูก ก็มีเนื้อความกันตรงกันข้ามกับที่แสดงแล้ว.
เมื่อพระบาลีแสดงไว้ชัดเช่นนี้ทุกอย่างหมดแล้ว ก็ยังแลไม่เห็นทางว่า พระอรรถกถาจารย์ได้ หลักฐานอย่างไร จึงรับรองผ้าที่ทำเสร็จมาแล้วไว้อย่างข้างต้นนั้น เพราะฉะนั้น ก็ต้องสันนิษฐานไว้อีก ชั้นหนึ่งว่าท่านไม่ได้แสดงหลักฐานไว้ด้วย จึงยุติได้ว่า ยังไม่ได้ทั้งเหตุผลทั้งหลักฐานของท่าน.


๑๗. หลักฐานของฎีกา
         ได้พยายามค้นหาหลักฐานในคัมภีร์ต่าง ๆ ต่อไปอีก ก็พบข้อความในคัมภีร์พุทธฎีกาที่พระฎีกาจารย์ชื่อวชิรพุทธิอธิบายเรื่องกฐิน รับรองผ้าที่ทายกทำสำเร็จมาแล้วไว้ตอนหนึ่ง อ้างเหตุผลมากมาย พร้อมด้วยให้อุทาหรณ์เป็นเครื่องประกอบยืนยันไว้ด้วย โดยความว่าผ้าที่ทำเสร็จมาแล้วใช้ได้ ไม่ต้อง ตัดอีกเหมือนกับกุลบุตรผู้มาขอบรรพชาอุปสมบท ถ้าโกนผมเสร็จแล้วก็ไม่ต้องทำภัณฑูกรรม คือทำพิธีโกนผมตามพระวินัยอีก รับบรรพชาอุปสมบทได้ทีเดียวถ้าจะต้องทำภัณฑูกรรมอีก ก็จะต้องหาผม มาปลูกบนศรีษะใหม่ ฎีกานี้แก้ยืนยันแน่นแฟ้นกว่าคัมภีร์ที่กว่ามาแล้วข้างต้น จะควรเชื่อหรือไม่ ขอให้พิจารณาดังต่อไปนี้ ก็จะเห็นได้เช่น
         ๑.เรื่องภัณฑูกรรมมีพุทธานุญาตเป็นปริกัปไว้ว่า ถ้าจะบวชโกนผมมาเสร็จแล้วก็ไม่ต้องทำภัณฑูกรรมอีก รับให้บวชได้ที่เดียว ส่วนเรื่องกฐิน ไม่มีพระพุทธานุญาตว่า ผ้าที่ทายกตัดเสร็จแล้ว เช่นนั้นให้รับกรานได้
         ๒.เรื่องภัณฑูรกรรมเป็นเพียงอปโลกนกรรม กรรมเล็กน้อย ไม่ต้องทำภายในสีมา เพียงแต่บอก กล่าวกันเท่านั้นก็ใช้ได้ ไม่ใช่คำสั่ง ส่วนเรื่องกฐิน การให้ผ้าต้องทำเป็นญัตติทุติยกรรมคือคำสั่งเด็ดขาด ไม่ใช่กรรมเล็กน้อย และต้องทำภายในสีมา
         ๓.ภัณฑูกรรมไม่มีกำหนดให้ทำในวันนั้นทำก่อนวันนั้นก็ได้ ส่วนกฐินมีพุทธาณัติกำชับให้ทำให้เสร็จในวันนั้นอย่างเดียว ไม่ผ่อนให้ทำวันอื่น
         ๔.การโกนผมผู้จะบวช ไม่มีจำกัดว่าต้องใครเป็นผู้ทำ ส่วนกฐินมีพุทธาณัติกำชับเด็ดขาดว่า ต้องพระภิกษุทำเอง
         ๕.การโกนผมผู้จะบวช ครั้งพุทธกาลพระทำกันเองก็มี คฤหัสถ์ทำก็มี ส่วนเรื่องกฐินไม่ปรากฏ ว่าคฤหัสถ์มาเสร็จแล้ว แม้เมื่อคราวทำผ้าของพระอนุรุทธ์ คฤหัสถ์ก็เป็นแต่ผู้มาช่วยเท่านั้น ถ้าจะมีพระพุทธประสงค์ให้ใช้ผ้าที่ทำมาเสร็จแล้วได้ ก็ไม่จำเป็นจะต้องมีพระพุทธานุญาตเพิ่มเติมเรื่องกฐินไว้ มากมายดังกล่าวแล้วข้างต้น อุทาหรณ์ที่พระฎีกาจารย์นำมาประกอบคำอธิบายเข้ากันกับเรื่องกฐินได้เลย เพราะฉะนั้นจึงยังไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น จึงยังไม่ได้เหตุผลและหลักฐานพอที่จะให้ปลงใจเชื่อตามคำอธิบายของวชิรพุทธิฎีกานี้ได้
๑๘. เหตุที่ต้องทำผ้าให้เสร็จในวันนั้น
         เพราะเหตุไร จึงมีพุทธาณัติกำชับการทำผ้าหนักแน่นว่า ต้องให้เสร็จในวันนั้นก่อนได้อรุณ เรื่องนี้เป็นปัญหาที่น่าพิจารณามาก ตามพระพุทธประสงค์ที่ทรงอนุญาตการรับกฐินนั้น ก็เพื่อให้ พระภิกษุสงฆ์ได้เปลี่ยนผ้าครองกันทุกรูป และเพื่อให้ชำนาญในการทำผ้า ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้ว ก็จำเป็นจะต้องรีบขวนขวายเพื่อแสวงหาผ้ามาตัดเย็บย้อมเป็นผ้าครองสำหรับตน ถ้าผู้ซึ่งได้รับมอบให้ ทำผ้าของกลางทำช้าก็จะถ่วงเวลาทำผ้าของผู้ที่ได้อนุโมทนา ย่อมไม่สมกับคำอุปโลกน์ที่ว่าท่านผู้ใดรับ มอบให้ทำผ้านั้นเป็นผู้สามารถ การทำผ้าของกลางนั้นต้องประชุมช่วยกันทำ แม้แต่องค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จมาประทับเป็นประธานทรงช่วยอยู่ด้วย เป็นการประชุมใหญ่ ถ้าจะทำไม่เสร็จ ในวันนั้น แม้เพียงผืนเดียว จะไม่สมกัน ถ้าจะทรงยืดเวลาให้ทำได้หลายวัน ความศักดิ์สิทธิ์ในการ ประชุมเพื่อทำจีวร ก็จักจืดจาง เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียสามัคคี และไม่เป็นวิธีฝึกหัดที่ดี ที่ให้พระ มีความชำนาญความสามารถในการทำจีวร ทั้งในการนี้ก็ทรงลดหย่อนสิกขาบทบางประการลงมาแล้ว ถ้าไม่เร่งการทำจีวรให้เร็ว ก็จักไม่สมกับที่ทรงผ่อนผันลงมานั้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องหาทางเร่งเพื่อให้ ได้ผลสมกับที่ทรงผ่อนผันพุทธาณัติลงมา น่าจะเป็นเพราะเหตุทั้งหลายดังนี้ จึงทรงเร่งให้ทำให้เสร็จใน วันนี้
๑๙. อานิสงฆ์เมื่อกรานกฐินแล้ว
         เมื่อได้กรานกฐินถูกต้องดีแล้ว ทรงลดหย่อนพระวินัยให้เป็นประโยชน์ พิเศษสำหรับอานิสงส์ การกรานกฐิน ๕ อย่าง คือ
         ๑. อนามนฺตจาโร เที่ยวไปไม่ต้องอำลา ตามสิกขาบทที่ ๑ แห่งอเจลกวรรค
         ๒. อสมาทานจาโร เที่ยวไปไม่ต้องเอาผ้าครองไปครบสำรับ
         ๓. คณโภชนํ ฉันคณะโภชน์ได้ (นั่งล้อมวงฉันได้)
         ๔. ยาวทตฺถจีวรํ เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
         ๕. โย จ ตตฺถ จีวรุปฺปาโท โส เนสํ ภวิสฺสติ มีสิทธิโดยเฉพาะในจีวรลาภที่เกิดขึ้นในที่นั้น
ทั้งได้โอกาสขยายจีวรกาลออกไปได้อีกรวมเป็น ๔ เดือนตลอดเหมันตฤดู
๒๐.คาถาอานิสงส์ ๕
         เพื่อจำง่ายท่านเรียกเป็นกฐินอุทานคาถาว่า
           อิทํ วตฺถุ กฐินสฺส กปฺปิสฺสนฺติ จ ปญฺจกา    อานามนฺตา อสมาจารา ตเถว คณโภชนํ    ยาวทตฺถญฺจ        อุปปาโท อตฺถตานํ ภวิสฺสติ.
๒๑. หลักสำหรับพิจารณาการเดาะกฐิน
         ความสิ้นอานิสงส์กฐิน ชื่อว่าการเดาะกฐิน. กฐินนั้นจะเดาะหรือไม่ ข้อนี้มีปลิโพธิ ๒ และ มาติกา ๘ เป็นหลักพิจารณาดังต่อไปนี้

๒๒. ปลิโพธิ ๒
         ๑. อาวาสปลิโพธ ยังมีความกังวล คือ อาลัยผูกในจะอยู่ในอาวาสนั้นอยู่.
         ๒. จีวรปลิโพธ ยังมีความกังวล คือ อาลัยผูกใจในการที่จะทำจีวรนั้นอยู่
๒๓. เหตุการเดาะกฐิน
         ปลิโพธิทั้ง ๒ นี้ ถ้ายังมีอยู่แม้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งกฐินก็ยังไม่เดาะ ถ้าขาดทั้งหมดก็เดาะ
๒๔. มาติกา ๘
          ๑. ปกฺกมนฺติกา กำหนดด้วยการหลีกไปเลย
          ๒. นิฏฺฐานนฺติกา กำหนดด้วยการทำผ้าเสร็จ
          ๓. สนฺนิฏฺฐานนฺติกา กำหนดด้วยการปลงในจะไม่ทำผ้า
          ๔. นาสนนฺติกา กำหนดด้วยผ้าหาย
          ๕. สวนนฺติกา กำหนดด้วยได้ยินข่าวว่าเลิกอานิสงส์กฐิน
          ๖. อาสาวจฺเฉทิกา กำหนดด้วยขาดหวังในการได้ผ้า
          ๗. สีมาติกฺกนฺติกา กำหนดด้วยล่วงพ้นเขตหรือเวลา
          ๘. สหุพฺภารา กำหนดด้วยการเดาะพร้อมกัน
๒๕. คาถามาติกา ๘
         เพื่อจำง่ายท่านเรียงเป็นกฐินอุทานคาถาว่า
           ปกฺกมนนฺติ นิฏฺฐานํ สนฺนิฏฺฐานญฺจนาสนํ    สวนํ อาสาวจฺเฉทิ สีมาสหุพฺภรฏฺฐมี
๒๖. ตัวอย่างมาติกา ๘
         พระภิกษุผู้ได้รับมอบให้ทำผ้า คือพระภิกษุผู้ครองผ้ากฐิน ได้จัดการทำผ้าเสร็จบริบูรณ์ จนถอน ผ้าเก่าอธิฐานผ้าใหม่ ทำพิธีกรานกฐินที่อธิษฐานนั้นก็ดีพระภิกษุผู้ร่วมอาวาสซึ่งได้รับกฐิน ได้ทำช่วย ทำผ้าของกลาง จนได้อนุโมทนากฐินตามที่ผู้ครองกฐินนำเสนอแล้วก็ดี ชื่อว่าผู้กรานกฐินแล้ว ผู้กราน กฐินนี้แล้วย่อมได้รับอานิสงส์แห่งการกรานกฐินโดยชอบ จนกว่ากฐินจะเดาะด้วยปลิโพธทั้ง ๒ ต้อง เกี่ยวเนื่องในมาติกา ๘ เหล่านี้ทุกข้อ ด้วยยกตัวอย่างไว้ดังนี้
         ๑. ปกฺกมนนฺติกา เช่นพระภิกษุกรานกฐิน และทำผ้าส่วนของตนในวัดเสร็จแล้วหลีกออกจาก วัดไปเลย ด้วยคิดว่าจะไม่กลับ. อย่างนี้จีวรปลิโพธขาดเมื่อทำผ้าเสร็จแล้ว อาวาสปลิโพธขาดเมื่อออกพ้นเขตวัดไป กฐินเดาะในขณะที่พ้นเขตวัดนั้น นี้ท่านแสดงว่า จีวรปลิโพธขาดก่อน อาวาสปลิโพธ ขาดที่หลัง

         ๒. นิฏฺฐานนฺติกา เช่นพระภิกษุกรานกฐินแล้วคิดจะไปทำจีวรภายนอกวัด เสร็จแล้วจะไม่กลับ อย่างนี้เมื่อเธอออกจากวัดไป อาวาสปลิโพธก็ขาด เมื่อทำจีวรเสร็จ จีวรปลิโพธก็ขาด กฐินเดาะพร้อม กับการทำผ้าเสร็จจีวรปลิโพธก็ขาด กฐินเดาะพร้อมกับการทำผ้าเสร็จ นี้ท่านแสดงว่า อาวาสปลิโพธ ขาดก่อน จีวรปลิโพธขาดทีหลัง
         ๓. สนฺนิฏฺฐานนฺติกา เช่นพระภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือ เอาผ้าออกจากวัดไป ด้วยคิดว่าจะไปทำจีวรภายนอกวัดแลัวจะกลับ แต่เมื่อออกไปแล้วกลับใจว่า ไม่ทำจีวรและไม่กลับละ กฐินก็เดาะพร้อม กับความตกลงใจนั้น นี้ท่านแสดงว่า อาวาสปลิโพธกับจีวรปลิโพธขาดพร้อมกัน
         ๔. นาสนนฺติกา เช่นพระภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือเอาผ้าออกจากวัดไปทำจีวรนอกวัด ด้วยคิดจะ ไม่กลับเมื่อกำลังทำจีวรอยู่ จีวรนั้นหายไปเสีย อย่างนี้อาวาสปลิโพธเมื่อเธอพ้นจากวัด จีวรปลิโพธ ขาดเมื่อผ้าหาย กฐินเดาะพร้อมกับผ้าที่หายนั้น นี้ท่านแสดงว่า อาวาสปลิโพธขาดก่อน จีวรปลิโพธขาด ที่หลัง
         ๕.สวนนฺติกา เช่นพระภิกษุกรานกฐินแล้ว ออกไปทำจีวรนอกวัด ตั้งใจว่าจะกลับพอทำจีวร เสร็จก็ได้ข่าวว่า สงฆ์ในวัดนั้นเดาะกฐินแล้ว อย่างนี้ท่านแสดง จีวรปลิโพธขาดก่อน อาวาสปลิโพธ ขาดพร้อมกับที่ได้ยินข่าวนั้น
         ๖. อาสาวจฺเฉทิกา เช่นพระภิกษุกรานกฐินแล้ว หลีกออกจากวัดไปเลยด้วยไม่คิดจะกลับแต่มี ความหวังว่าจะได้ผ้า และจะทำจีวรข้างหน้า แต่หาผ้าไม่ได้ หมดความหวัง อย่างนี้อาวาสปลิโพธขาด เมื่อพ้นเขตวัด จีวรปลิโพธขาดเมื่อหมดความหวังในการได้ผ้า กฐินเดาะในขณะหมดความหวังนั้น นี้ ท่านแสดงว่า อาวาสปริโพธขาดก่อนจีวรปลิโพธขาดที่หลัง
         ๗. สีมาติกฺกนฺติกา เช่นพระภิกษุกรานกฐินแล้วถือเอาผ้าออกจากวัดไป ด้วยคิดว่าจะไปทำจีวร ภายนอกวัดแล้วจะกลับ เมื่อทำผ้าเสร็จแล้วพักอยู่ภายนอกวัดล่วงเขตกำหนด อย่างนี้จีวรปลิโพธขาด เมื่อทำผ้าเสร็จ อาวาสปลิโพธขาดเมื่อหมดเขตกาลที่กำหนด กฐินปลิโพธขาดก่อน อาวาสปลิโพธขาด ทีหลัง.
         ๘. สหุพฺภารา เช่นพระภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือเอาจีวรออกจากวัดไป คิดว่าจะกลับ พอทำจีวร เสร็จก็กลับมาทันกาลเดาะกฐินพร้อมกับสงฆ์ อย่างนี้ท่านแสดงว่า อาวาสปลิโพธกับจีวรปลิโพธขาด พร้อมกัน
๒๗. ไทยธรรมถวายในกฐิน
         ไทยธรรม คือ เครื่องบริขารสำหรับถวายเป็นบริวารในการทอดกฐินนั้น ครั้งพุทธกาลไม่ ปรากฏว่ามี ผู้รู้บางท่านมุ่งประโยชน์ทางพระวินัยโดยตรงจึงนำผ้าขาวไปถวายเท่านั้น เมื่อเสร็จแล้วจึง ไปจัดการฉลองกาลทานนั้นภายหลัง แต่บัดนี้นิยมเป็นประเพณีตลอดทั่งถึงกันว่า มีบริขารเป็นบริวารด้วยแต่จะมีมากหรือน้อยอย่างไร ก็ตามแต่ศรัทธาของผู้ถวาย ส่วนของที่เป็นหลักยืนพื้นทั้งกฐินหลวง และไม่ใช่กฐินหลวง กำหนดอย่างเดียวกันมีรายการดังต่อไปนี้
         ๑. ผ้าไตร (ผ้าเป็นวัดที่มีการทำผ้าต้องมีผ้าขาวด้วย)
         ๒. ผ้าห่มพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานและพระสาวก
         ๓. บาตรพร้อมด้วยถลกฝาและเชิง
         ๔. เข็ม ด้าย มีโกน หินลับมีด (ควรมีกระบอกกรองน้ำด้วย)
         ๕. พัดรอง
         ๖. เทียนชุดสำหรับจุดสวดพระปาฏิโมกข์ตลอดปี ๒๔ เล่ม ถ้าปีใดมี ๘ สองหนใช้ ๒๖ เล่ม ๆ หนึ่งทำเป็นหนัก ๓-๔ บาท มัดให้เรียบร้อย
         ๗. หมอน
         ๘. มุ้ง
         ๙. เสื่อหรือพรม
         ๑๐. ผ้าห่มนอน
         ๑๑. สำรับคาวหวาน
         ๑๒. ที่น้ำเย็นน้ำร้อน
         ๑๓. กระโถน
         ๑๔. ยาบำบัดโรค
         ๑๕. เครื่องเหล็ก เช่นมีด จอบ ฯลฯ เป็นต้น
         ส่วนพระคู่สวดและพระอันดับ จักถวายอย่างไรก็ไม่มีกำหนดตามแต่ศรัทธาของผู้ถวาย
๒๘. คำถวายผ้ากฐิน
อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กฐินะทุสสัง ปฏิคคัณหาตุ ปฏิคเหตวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
คำแปล
         ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ข้อน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารทั้งหลาย เหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ รับแล้วจงกราน กฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ.


๒๙. การกรานกฐินครั้งสมัยพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ปรากฏในพระไตปิฎก
สุเมธพุทธวงศ์ ว่าด้วยพระประวัติพระสุเมธพุทธเจ้า
สุเมธพุทธวงศ์ที่ ๑๑
ว่าด้วยพระประวัติพระสุเมธพุทธเจ้า
         ในสมัยต่อมาจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ พระพิชิตมาร พระนามว่าสุเมธ ผู้เป็น นายกของโลก ยากที่จะเทียมถึง ทรงมีเดชรุ่งเรือง อุดมกว่าสัตว์โลกทั้งปวง ทรงมีพระเนตรแจ่มใส พระพักตร์แช่มชื่น พระองค์สูงใหญ่ ตรง มีสง่า ทรงแสวงหาประโยชน์เพื่อสรรพสัตว์ ทรงเปลื้อง สัตว์ให้พ้นจากเครื่องผูกอันมาก ในกาลเมื่อพระพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณอันอุดมบริสุทธิ์แล้ว ทรงประกาศธรรมจักร ณ สุทัศนนคร แม้ในกาลที่พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา มี ธรรมาภิสมัย ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ ในกาลเมื่อพระพิชิตมาร ทรงทรมานยักษ์ชื่อว่า กุมกรกฎ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ ครั้งที่ ๓ ในกาลเมื่อพระองค์ผู้ ทรงยศนับไม่ได้ ทรงประกาศจตุราริยสัจธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ พระสุเมธศาสดา ทรงมีการประชุมพระภิกขุขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง ในกาลเมื่อพระ พิชิตมารเสด็จเข้าไปในสุทัสนนครพระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันร้อยโกฏิ ในกาลเมื่อภิกษุทั้งหลายกรานกฐิน ณ เทวกูฏ พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันครั้งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ ในกาลเมื่อพระทศพลเสด็จ จาริกไปอีกครั้งหนึ่ง พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันครั้งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ สมัยนั้น เราเป็นมาณพมี นามว่าอุตระ มีทรัพย์ที่เก็บสะสมไว้ในเรือนแปดสิบโกฏิ เราได้ถวายทรัพย์แก่พระศาสดา พร้อมด้วย พระสาวกหมดสิ้น แล้วถึงพระองค์เป็นสรณะ ชอบใจ (ออก) บรรพชา แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงทำอนุโมทนา ก็ทรงพยากรณ์เราในกาลนั้นว่า ในนามเก้าหมื่นกัป ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ในโลก………………………ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น
เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้วยังจิตให้ เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป เราเล่าเรียนพระสูตร และพระวินัย อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวงแล้ว ทำพระศาสนาของพระพิชิตมารให้งามเราเป็นผู้ไม่ ประมาทในคำสั่งสอนนั้น ทั้งเวลานั่งยืนหรือเดิน ถึงความสำเร็จในอภิญญาแล้ว ได้ไปยังพรหมโลก พระนครชื่อว่า สุทัสนะ พระบรมกษัตริย์พระนามว่าสุทัตตะ เป้นพระชนกของพระสุเมธศาสดา พระ นางสุทัตตาเป็นพระชนนี พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานที่อยู่เก้าหมื่นปี ทรงมีปราสาทอัน ประเสริฐ ๓ ประสาทชื่อว่าสุจันทะ กัญจนะ และสิริวัฑฒะ มีพระสนมนารีกำนัลในหมื่นแปดพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าสุมนา พระราชโอรสพระนามว่าปุนัพพะ พระองค์ เป็นนิมิต ๔ ประการจึงเสด็จออกผนวชด้วยคชสารอันเป็นยานพาหนะที่นั่งต้น ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม พระสุเมธมหาวีรชินเจ้าผู้เป็นนายกของโลกอันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศธรรมจักร ณ สุทัสนอุทยานอันประเสริฐ ทรงมีพระสรณะและสรรพกามเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าสาคระ เป็นพุทธอุปัฏฐาก พระรามาเถรีและพระสุรามาเถรี พระพระอัครสาวิกา ไม้โพ พฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่าต้นสะเดา อุรุเวลาอุบาสกและยสวาอุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐายิกาพระ มหามุนีทรงมีพระองค์สูง ๘๘ -ศอก มีพระรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศเปรียบดังพระจันทร์ในหมู่ดาว ฉะนั้น พระรัศมีขอลพระองค์แผ่ไปตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ เหมือนแก้วแก้วมณีของพระเจ้า จักรพรรดิแผ่ไปโยชน์หนึ่ง ฉะนั้น ในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุเก้าหมื่นปีพระองค์ทรงพระชนมา ยุอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏฏสงสารได้มากมาย พระศาสดาของพระองค์ คับคั่งไปด้วย พระอรหันต์ทั้งหลาย ล้วนแต่ผู้บรรลุไตรวิชชา ฉฬภิญญา และพลธรรมคงที่แม้ท่านทั้งหมดนั้น ล้วน มียศศักดิ์มากนับไม่ได้ หลุดพ้นแล้วไม่มีอุปธิ แสดงแสงสว่างแห่งญาณแล้วนิพพาน พระพุทธสุเมธ ชินเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพาน ณ เมธาราม พระธาตุขององค์แผ่กระจัดกระจายในประเทศนั้น ๆ ฉะนี้แล
ปทุมพุทธวงศ์ที่ ๘
ว่าด้วยพระประวัติพระปทุมพุทธเจ้า
         ( ๙ ) สมัยต่อมาจากพระอโนมทัสสีบรมศาสดา พระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่าสรรพสัตว์ มีพระ นามว่าชื่อปทุม ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ ศีลของพระองค์หาเสมอไม่แม้สมาธิก็ไม่มีที่สุด พระญาณ อันประเสริฐนับไม่ถ้วน แม้วิมุตติก็ไม่มีอะไรเปรียบ แม้ในคราวที่พระองค์ผู้ทรงเดชไม่มีอะไรเปรียบ เท่าทรงประกาศธรรมจักรธรรมาภิสมัยอันกำจัดความมืดตื้อได้ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระพุธีรเจ้าทรงยังสัจ ให้ตรัสรู้ร้อยโกฏิ และในคราวเมื่อ พระปทุมพุทธเจ้าตรัสสอนพระราชโอรส ของพระองค์ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดสิบโกฏิพระปทุมบรมศาสดาทรงมีการประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง ครั้งที่ -๑ พระสาวกมาประชุมกันแสนโกฏิ เมื่อกฐินเกิดขึ้นในสมัยกรานกฐิน ภิกษุทั้งหลายช่วยกันเย็บจีวร เพื่อประโยชน์แก่พระธรรมเสนาบดี ครั้งนั้นภิกษุเหล่านั้นล้วนปราศจากมลทินได้ อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก ผู้ไม่พ่ายแพ้อะไรๆ สามแสนรูปมาประชุมกัน สมัยต่อมา ในคราวที่พระบรม ศาสดาผู้องอาจกว่านรชน ทรงเข้าจำพรรษาในป่าใหญ่ครั้งนั้น พระสาวกสองแสนมาประชุมกัน สมัย นั้นเราเป็นราชสีห์เป็นใหญ่กว่าฝูงมฤค ได้พบพระพิชิตมาร ซึ่งกำลังเจริญวิเวกอยู่ในป่าใหญ่…..ฯลฯ



กฐินแท้ของชาวพุทธ
นิราลัย.......
         “บุญ” คือ เครื่องชำระล้างบาป
         “บาป” คือ ความชั่วชนิดต่าง ๆ ที่เกิดทางกาย วาจา ใจ เช่น ความหึงสา พยาบาท นินทาว่าร้าย ตระหนี่ขี้เหนียว หรือโลภ โกรธ หลง(ความเห็นแก่ตัว) การทำบุญก็เพื่อชำระล้างสิ่งชั่วตาง ๆ เหล่านี้
ระยะออกพรรษานี้เป็นฤดูกาลทอดกฐิน ดังนั้นแน่นอนเหลือเกินว่า การบอกบุญจะต้องมีขึ้น แน่และมีมากมายหลายวิธีหลายรูปแบบ ทั้งในรูปของการเชิญร่วมและการเรี่ยไร
         การเชิญร่วม  คือ ผู้เชิญเชิญด้วยความบริสุทธิ์ ไม่มีความโลภไม่มีอะไรแอบแฝง ปรารถนาจะ ให้ผู้มาร่วมงานได้มีโอกาสเข้าถึงธรรมและผู้ร่วมทำก็ทำด้วยใจศรัทธา บริสุทธิ์ใจ สบายอกสบายใจ มุ่งเจตนาลงสู่การชำระความตระหนี่ที่มีอยู่ในใจตน
         การเรี่ยไร่ คือ ผู้ที่ไปบอกบุญมีเจตนาจะล่อลวงขูดรีด บีบบังคับเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว ผู้ที่จะมี ความรู้สึกไม่สบายใจ อึดอัดใจใจขุ่นหมอง ไม่เกิดศรัทธาจึงไม่เป็นบุญ
ด้วยเหตุนี้แหละ ออกพรรษาตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นฤดูกาลทอดกฐิน วัดหลายวัดต่างก็ จัดให้มีงานทอดกฐิน หากท่านจะไปทำบุญวัดใด เราใคร่ขอเรียนกับท่านพุทธบริษัทผู้ลาดว่า “ถ้า บุญใดที่ท่านจะทำแล้วทำให้ท่านสบายใจก็จงทำเถิด และถ้าบุญใดขณะที่ทำนั้นจิตของท่านมีความรู้สึก ว่าคล้ายถูกบังคับ (ยัดเหยียด-เรี่ยไร) ก็จงอย่าทำ”

กฐินแท้ของชาวพุทธ
                 “ออกพรรษาหน้ากฐินทุกถิ่นทอด สนุกยอดสนานใหญ่ไม่มีสอง
                 กฐินไทยใครก็รู้ไม่เป็นรอง แต่จะหาทำถูกต้องนั้นยากเย็น
                 กฐินทัวร์กฐินเที่ยวพอได้ท่อง มันยกร่องจริงแม่เอ๋ยไม่เคยเห็น
                 เที่ยวเรี่ยไรได้ค่ารถและเบียร์เย็น หาช่องเล่นแอบอ้างบุญต้มตุ๋นกิน
                 กฐินแท้ที่พระองค์ทรงบัญญัติ เพียงถือผ้ามาวัดก็เป็นกฐิน
                 มีพระรับก็ทอดเลยแม้กลางดิน ไม่ต้องยุ่งโห่แห่กินสิ้นเปลืองเอย.
                 “กฐินบั้มพ์กฐินบ๋องส์ล่องเหนือใต้ โห่แห่ไปเต้นดีสโก้โชว์กฐิน
                 กฐินไทยร่ำสุราเป็นอาจิณ ทั้งเล่นกินโห่ดวดอวดกันจัง
                 บางนั้นจัดใหญ่โตโอ่ยศฐาน์ มีดาราดนตรีแลมีหนัง
                 พอจัดเสร็จเก็บเสร็จเช็คสตางค์ วัดเกือบพังควักกระเป๋าเศร้าเหงาทรวง
                 กฐินแท้ของชาวพุทธสุดจะง่าย ไม่วุ่นวายเหมือนดั่งกฐินหลวง...(ตา)
                 มีเพียงผ้าและญาติมิตรศิษย์ทั้งปวง ไม่ต้องห่วงทอดพระเลยเสบยใจ.
"ศาสนาจะไม่มัวหมอง เมื่อเราทั้งผองเข้าใจการทำบุญ”



ปัญหาที่สงสัยกันว่าจำนวนพระที่สามารถจะรับกฐินได้นั้นมีกี่รูปกันแน่?

ในวินัยปิฏก อรรถกถา มหาวรรคเล่ม ๗ กล่าวไว้ชัดเจน ว่าด้วยผู้ได้กรานกฐิน
วินิจฉัยในคำว่า เอวฺจ ปน ภิกฺขเว กฐินํ อตฺถริตพฺพํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
ในมหาปัจจรีแก้ว่า ถามว่า ใครได้กรานกฐิน ใครไม่ได้?
         ตอบว่า ว่าด้วยอำนาจแห่งจำนวนก่อน. ภิกษุ ๕ รูปเป็นอย่างต่ำย่อมได้ กราน, อย่างสูงแม้แสนก็ได้. หย่อน ๕ รูป ไม่ได้.
         ว่าด้วยอำนาจภิกษุผู้จำพรรษา. ภิกษุผู้จำพรรษาในปุริมพรรษา ปวารณาใน วันปฐมปวารณาแล้ว ย่อมได้, ภิกษุผู้มีพรรษาขาด หรือจำพรรษาในปัจฉิมพรรษา ย่อมไม่ได้ : แม้ภิกษุที่จำพรรษาในวัดอื่นก็ไม่ได้. และภิกษุทั้งปวงผู้จำพรรษาหลัง เป็นคณปูรกะของภิกษุผู้จำพรรษาต้นก็ได้, แต่พวกเธอไม่ได้อานิสงส์ ; อานิสงส์ ย่อมสำเร็จแก่พวกภิกษุนอกนี้เท่านั้น. ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาต้น มี ๔ รูปหรือ ๓ รูป หรือ ๒ รูปหรือรูปเดียว, พึงนิมนต์ภิกษุผู้จำพรรษาหลังมาเพิ่มให้ครบคณะแล้ว กรานกฐินเถิด. (ต้องเป็นพระที่จำพรรษาอยู่วัดเดียวกันเท่านั้น) ถ้าภิกษุผู้จำพรรษา ต้นมี ๔ รูป, มีสามเณรอายุครบอยู่รูปหนึ่ง, หากสามเณรนั้นอุปสมบทในพรรษา หลัง, เธอเป็นคณปูรกะได้ ทั้งได้อานิสงส์ด้วย.
         แม้ในข้อว่า มีภิกษุ ๓ สามเณร ๒, มีภิกษุ ๒ สามเณร ๓, มีภิกษุรูปเดียว สามเณร ๔ นี้ ก็มีนัยอย่างนี้แล. ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาต้น ไม่เข้าใจในการกรานกฐิน, พึงหาพระเถระผู้กล่าวคัมภีร์ขันธกะ ซึ่งเข้าใจในการกรานกฐิน นิมนต์มา : ท่าน สอนให้สวดกรรมวาจา ให้กรานกฐิน แล้วรับทาน แล้วจักไป. ส่วนอานิสงส์ย่อม สำเร็จแก่ภิกษุนอกนี้เท่านั้น.
         ถ้าในวัดมีพระเพียงรูปเดียว แล้วไปนิมนต์มาจากวัดอื่นอีก ๔ รูป รวมเป็น ๕ รูปสามารถรับกฐินได้ไหม ในวินัยเล่มนี้ได้กล่าวไว้ชัดเจนแล้วว่าไม่ได้แน่นอน ยังไม่พบที่มาของวินัยเล่มใดกล่าวไว้ว่าพระไม่ครบ ๕ รูปแล้วรับกฐินได้พึงทราบตามนี้

ประเพณีถวายผ้ากฐิน (ความหมายที่มาและอานิสงส์


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดไฟล์นี้ หากยังไม่มีบัญชี กรุณา ลงทะเบียน

×

วัดสวนวางสถานศึกษาและปฏิบัติธรรม,ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา

0

กระทู้

61

ตอบกลับ

119

เครดิต

Member

UID
242
เครดิต
119
พลังน้ำใจ
0
จิตเอื้ออาทร
58
ความดี
0
เพศ
ไม่บอก
ตอบกลับ
61
ลงทะเบียน
2018-7-17
ล่าสุด
2018-7-20
ออนไลน์
14 ชั่วโมง
จำนวนผู้ติดตาม
0
ทักทาย
1
บล็อก
0
เพื่อน
0
สำคัญ
0
ผู้ขายเครดิต
ผู้ซื้อเครดิต

 Nakhon Pathom, Thailand

โพสต์ 2018-7-20 19:43:59 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณ ครับ
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

แนะนำกระทุ้ยอดเยี่ยม
ข้อตกลงและเงื่อนไขการสมัครสมาชิกเว็บ watsua
admin
โครงการธารน้ำใจสู่เยาวชน "โครงการธา
admin
รวมเกมไขสมองชั้นป.3(ใบงานใช้ได้ตลอดปี)
admin
คู่มือเข้าค่ายมัธยม(3วัน) ดาวน์โหลดไฟล์ **
admin
พุทธภาษิตนักเรียน ดาวน์โหลดไฟล์ **** ซ่อนโดยเจ้าของโพสต์ ****
admin
ใบงานป.5เทอม1-2วิชาพระพุทธศาสนา ดาวน์โหลดไฟ
admin
ธรรมสวัสดีเพื่อนสมาชิก วันนี้ได้นำสื
admin
ใบงานแบบฝึกหัดป.4วิชาพระพุทธศาสนา**** ซ่อนโดยเจ้าของโพสต์ ****
admin
ใบงานป.4เทอม1-2วิชาพระพุทธศาสนา ดาวน์โหลดไฟ
admin
ภาพวาดระบายสีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาชุดท
admin
ธรรมสว้สดี สมัครวันนี้เพื่อสิทธิ์ใช้งาน
ตอบกระทู้ได้
ได้เพื่อน ได้พูดคุย
ร่วมกิจกรรมสนุก
ดาวน์โหลดไฟล์
สร้างบล็อกและอัพภาพถ่าย
เรียนรู้เรื่องต่างๆ
Dear Guest, thank you to www.i-520.net

เว็บไซต์นี้ มีการใช้คุกกี้ 🍪 เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)

Copyright   ©2015-2016  วัดสวนวาง ศูนย์สื่อการสอนพระพุทธศาสนา  สนับสนุน:Gold Road Media